หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
องค์การบริหารส่วนตำบล สมอแข ใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายคุกกี้
ยอมรับ
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข
 
 
 
การจัดการองค์ความรู้ KM
 

 
ความรู้เรื่อง (Knowledge Management : KM)  
 

        การจัดการความรู้ เป็นกระบวนการ (Process) ที่ดำเนินการร่วมกันโดยผู้ปฏิบัติงานในองค์กร เพื่อสร้างและใช้ความรู้ในการทำงานให้เกิดผลสัมฤทธิ์ดีขึ้นกว่าเดิม  เป็นกระบวนการที่เป็นวงจรต่อเนื่อง เกิดการพัฒนางานอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ เป้าหมายคือการพัฒนางานและพัฒนาคนโดยมีความรู้เป็นเครื่องมือ มีกระบวนการจัดการความรู้เป็นเครื่องมือ การจัดการความรู้ในความหมายนี้จึงเป็นกิจกรรมของผู้ปฏิบัติงาน ไม่ใช่กิจกรรมของนักวิชาการหรือนักทฤษฎี แต่นักวิชาการหรือนักทฤษฎีอาจเป็นประโยชน์ในฐานะแหล่งความรู้

         การจัดการความรู้ในองค์กร (Knowledge Management) หมายถึง   การรวบรวมองค์ความรู้ที่มีอยู่ในองค์กร ซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในตัวบุคคลหรือเอกสาร มาพัฒนาให้เป็นระบบ  เพื่อให้ทุกคนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้  และพัฒนาตนเองให้เป็นผู้รู้ รวมทั้งปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลให้องค์กรมีความสามารถในเชิงแข่งขันสูงสุด โดยที่ความรู้มี 2 ประเภท คือ
               1. ความรู้ที่ฝังอยู่ในคน (Tacit Knowledge) เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ พรสวรรค์หรือสัญชาตญาณของแต่ละบุคคลในการทำความเข้าใจในสิ่งต่าง ๆ เป็นความรู้ที่ไม่สามารถถ่ายทอดออกมาเป็นคำพูดหรือลายลักษณ์อักษรได้โดยง่าย เช่น ทักษะในการทำงาน งานฝีมือ หรือการคิดเชิงวิเคราะห์ บางครั้ง จึงเรียกว่าเป็นความรู้แบบนามธรรม
               2. ความรู้ที่ชัดแจ้ง  (Explicit Knowledge)  เป็นความรู้ที่สามารถรวบรวม ถ่ายทอดได้  โดยผ่านวิธีต่าง ๆ เช่น การบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ทฤษฎี คู่มือต่าง ๆ และบางครั้งเรียกว่าเป็นความรู้แบบรูปธรรม

        หลักการ Knowledge Management
               1. ต้องมีการแบ่งปันความรู้กัน   Knowledge Sharing
               2. ต้องมีการสร้างที่เก็บความรู้เหล่านั้น   Knowledge Repository
               3. ต้องมีการสร้างเครือข่ายความรู้   Knowledge Network
               4. ต้องมีการสร้างเครื่องมือหาความรู้   Knowledge Search Engine

ความหมายของคำว่า KM

          KM เป็นตัวย่อมาจากคำเต็มว่า Knowledge Management แปลเป็นภาษาไทยตรง ๆ ว่า \"การจัดการความรู้\" เรื่องการจัดการความรู้ในองค์กรเป็นเรื่องที่สำนักงาน ก.พ.ร. กำหนดให้ทุกส่วนราชการต้องดำเนินการซึ่งเป็นไปตามพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี พ.ศ.2546 มาตรา 11 โดยกำหนดให้เป็นตัวชี้วัดในการทำคำรับรองการปฏิบัติ ิราชการประจำปีมาเป็นเวลา 3 ปี (ตั้งแต่ปี 2547 - 2549) แม้จะดำเนินการกันมาอย่างต่อเนื่อง 3 ปี แต่ส่วนราชการทั้งหลายก็ยังขาดองค์ความรู้ในการจัดการความรู้ให้เป็นระบบตามหลักวิชาการ เพราะเป้าหมายหลักของการจัดการความรู้คือการทำให้คนในองค์กรสามารถเข้าถึงความรู้ที่มีอยู่ได้อย่างทั่วถึงและมากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อนำความรู้นั้นไปใช้ในการจัดการความรู้ในองค์กรของส่วนราชการต่าง ๆ
          ในปี 2549 สำนักงาน ก.พ.ร. จึงได้จัดจ้างสถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติให้จัดวางระบบในเรื่องของการจัดการความรู้ และกำหนดเป็นตัวชี้วัดใน มิติที่ 4 ของการจัดทำคำรับรองการปฏิบัติราชการประจำปี 2549 ทำให้ปัจจุบันทุกส่วนราชการมีทิศทางในการจะดำเนินการจัดการความรู้ให้เป็นระบบได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
          ความหมายของคำว่า \"ความรู้\" ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2542 ได้ให้นิยามว่า \"ความรู้\" คือ สิ่งสั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติ และทักษะ ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ สิ่งที่ได้รับจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติองค์วิชาในแต่ละสาขา

        Knowledge Management (KM)  \"การจัดการความรู้ เน้นที่การปฏิบัติ มิใช่เน้นทฤษฎี ถ้าหากยึดติดทฤษฎีมากเกินไป หรือทำความเข้าใจแต่เพียงทฤษฎีโดยไม่ลงมือปฏิบัติ ก็จะไม่เกิดการจัดการความรู้ ไม่ได้รับผลของการจัดการความรู้\"

 

ข่าว ณ. วันที่ 14 พ.ย. 2562 เวลา 14.06 น. โดย คุณ ศุภชัย ปิยะวงศ์ลาวัลย์

ผู้เข้าชม 104 ท่าน

 
 
  GOOGLE MAP
NAX SOLUTION
 
  ศูนย์ดำรงธรรม
 
แบบสำรวจความคิดเห็น
 
  ประเมินความพึงพอใจการให้บริการ ของ อบต.สมอแข
  น้อยที่สุด
  น้อย
  ปานกลาง
  มาก
  มากที่สุด
 
สายตรงปลัด
โทร.086-9260677
 
วิสัยทัศน์องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข
องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข
ตำบลน่าอยู่ รอบรู้พัฒนา
มุ่งเน้นการศึกษา เจริญตาภูมิทัศน์
สอดรับพิกัดสี่แยกอินโดจีน
 
 
 
 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 055-987-101 ถึง 103
โทรสาร : 055-987-100 โทรศัพท์โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสมอแข : 055-987-104 E-mail : samokhae476pl@gmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551 ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข
จำนวนผู้เข้าชม 8,405,349 เริ่มนับ 31 ส.ค. 2555 จัดทำโดย : NAXsolution.com
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 055-987-101 ถึง 103

แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser นี้รองรับ IE9/firefox3.5/Chrome/safari4/Opera10