หน้าหลัก
ITA
LPA
ประกาศจากระบบ e-GP
ประกาศจากระบบ e-GP ในเครือข่าย
ข้อมูลหน่วยงาน
ข้อมูลหน่วยงาน
บุคลากร
บุคลากร
การบริหารบุคคล
การบริหารบุคคล
ข่าวสาร
ข่าวสาร
แผน
แผน
รายงาน
รายงาน
ระเบียบ
ระเบียบ
บริการประชาชน
บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข
 
 
 
ประเพณีวัฒนธรรม
 
 
ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น
 
  ชาวสมอแขเดิมอพยพมาจากแถบจังหวัดราชบุรี นครปฐม เนื่องจากถิ่นเดิมเกิดความแห้งแล้งประกอบอาชีพด้านการเกษตรไม่ได้ผลเท่าที่ควร จึงพากันอพยพย้ายถิ่นมา ตั้งรกรากอยู่แถวจังหวัดพิจิตรเพื่อทำนาก็พบกับปัญหาอุทกภัยจึงได้พากันอพยพย้ายถิ่นมาที่บ้านดงประโดก ตำบลสมอแข ซึ่งได้นำขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมมาด้วย และได้รับการสืบทอด มาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งนับว่าเป็นเอกลักษณ์ประจำถิ่นที่คนรุ่นหลังควรอนุรักษ์ สืบทอดมิให้สูญหายไป ดังนี้
 
แทงหยวก
 
 
แทงหยวกเพื่อใช้ในงานศพ มีวิธีการทำดังนี้แทงหยวก ตลอดลายมีฟันปลา ฟันปลาใช้เวลาทำ ๑๐ นาที ยาวหนึ่งเมตร
๕๐ เซนติเมตร ทำตามเสาที่จะตั้งศพ เรียกว่าแทงเสา แล้วก็
แทงทึมประกอบที่เอาศพวาง ถ้าทำทั้ง หมด โดยมาก อย่างน้อย
ที่สุดต้องใช้ ๔ คน ถ้าทำงานเต็มที่มีแกะสลักด้วยมีหยวกกล้วย
ด้วยใช้เวลาหนึ่งวันกับคืน จึงเสร็จเรียบร้อย เรียกว่าทำ ล่วงหน้า
หนึ่งวันกับหนึ่งคืนวันรุ่งขึ้นตอนกลางวันต้องเสร็จหมด พอบ่ายก็
เอาขึ้นตั้ง
 
ประเพณีทำบุญกลางบ้าน
 
 
ประเพณีทำบุญกลางบ้าน เป็นประเพณีของชาว
ไทยพรวน หมู่ 4 และหมู่ 8 ที่ปฏิบัติต่อๆ กันมา จะทำกันใน
เดือนหก ขึ้นแปดค่ำ ซึ่งแต่ละบ้านจะมีการทำกระทงสาม
เหลี่ยมโดยใช้กาบกล้วยพับมุมเป็นเหลี่ยมสามด้านแล้วใช้ไม้กลัด
มุมจนเรียบร้อย ก้นกระทงก็ใช้ไม้ไขว้แล้วใช้ใบตองหรือกาบ
กล้วยวางเพื่อเป็นพื้นไว้ใส่ของที่ต้องเตรียมใส่กระทง ของที่
ทุกบ้านทำคือปั้นรูปคนตามจำนวนคนในบ้าน สัตว์เลี้ยงต่างๆ
แล้วแต่ที่บ้านใครเลี้ยงอะไร และอาหาร ข้าวดำ (ใส่สีของถ่าน)
  ข้าวแดง(ใส่สีปูนแดง) ดอกไม้ ธูป เทียน ทุกอย่างที่กล่าวมาใส่ลง ในกระทงแล้วกระทงต้องทำเชือกผูกสามมุมรวมมัดตรงกลางไว้ หิ้วเพื่อนำกระทงนี้ไปรวมไว้บริเวณพิธีกลางหมู่บ้าน พิธีจะเริ่ม โดยทุกบ้านจะนำกระทงที่ ทำมารวมกันที่บริเวณพิธีจะ ทำบุญ กลางบ้าน ชาวบ้านก็จะนำกับอาหารหวาน คาวมาทำบุญร่วมกันด้วย ทำพิธีโดยพระสงฆ์สวดมนต์ เมื่อเสร็จพิธีจากการถวายอาหารพระสงฆ์ พระสงฆ์ฉันอาหารเสร็จ ชาวบ้านก็จะมีการ รับประทานอาหารร่วมกัน แล้วหลังจากนั้นชาวบ้านก็จะนำกระทงของตนไปวางไว้นอกหมู่บ้าน การทำเช่นนี้เพราะเชื่อว่าเป็นการทำพิธีสะเดาะเคราะห์
ของคนในบ้าน
 
ไทยทรงดำ
 
 
หมู่ 5 บ้านก่อ ตำบลสมอแข เป็นหมู่บ้านชาว
ไทยทรงดำทั้งหมู่บ้าน ซึ่งยังยึดถือประเพณีดั้งเดิมไว้ได้อย่าง
เหนียวแน่น เช่น ประเพณีเสนเฮือน หรือประเพณีเซ่นผีเรือน เนื่องจากชาวไทยทรงดำนับถือผีบรรพบุรุษ ที่มาปกป้อง
ลูกหลาน ให้พบแต่ ความสุขความเจริญจึงได้เชิญผีบรรพบุรุษมา
ไว้บนเรือนในห้องที่เรียกว่า “กะล้อห่อง” มุมหนึ่งของเสาบ้านในห้องนั้น เป็นที่ไหว้ บรรพบุรุษเป็นที่เซ่นไหว้ผีเรือนทุก ๆ 10 วัน เรียกว่า “ป้าดตง” โดยมีแก้วน้ำและชามข้าววางอยู่เป็นประจำ ส่วน การแต่งกาย จะสวมใส่ ผ้าสีดำเป็นพื้น
  ฝ่ายชายจะสวมกางเกงแค่เข่าเรียกว่า “ซ่วงก้อม” ใส่เสื้อค่อนข้างรัดรูป ยาวถึงสะโพก แล้วผ่าปลายทั้งสองข้างแขนยาว เป็นกระบอกถึงข้อมือติดกระดุมเงินอย่างถี่ ๆ ตั้งแต่คอถึงเอว เสื้อชนิดนี้เรียกว่า เสื้อก้อม หรือเสื้อไทย ถ้าไปในงานที่เป็นพิธีการจะสวม กางเกงขายาวเรียกว่า “ซ่วงฮี” และใส่เสื้อตัวยาวมีลายปักประดิษฐ์ ตามแบบเฉพาะของตนเอง เรียกว่า เสื้อฮี ฝ่ายหญิงตามปกติสวมเสื้อ ก้อมติดกระดุมเงิน ถ้าเป็นงานพิธีจะสวมเสื้อฮี ผ้าซิ่นที่ใช้นุ่งมีลักษณะ เฉพาะคือพื้นดำสลับลาย เส้นสีขาวคราม และมีวิธีนุ่งผ้าซิ่นของชาวไทยทรงดำผิดแปลกไป คือใช้มุมผ้าทาง ซ้ายและขวาทบกันแล้วหักพับลง คาดด้วยเข็มขัด ตรงกลาง แหวกเป็นฉาก ทรงผมของ ผู้หญิงนิยมเกล้ามวยซึ่งมี 2 แบบ คือผู้ที่อยู่ในวัยสาว จะเกล้าผมที่เรียกว่า ขอดซอย แต่ถ้าพ้นวัยสาวจะเกล้าแบบปั้นเกล้า เป็นการแบ่งแยกวัยวุฒิ
 
 
ไทยยวน
 
 
สมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ทำสงครามไทย
รบชนะลาวแล้วกวาดต้อนไพร่พลลาวมาเป็นเชลย
ประมาณ 50,000 คน มาช่วยสร้างกำแพงพระนคร และขุด
คูคลอง ส่วนหนึ่งถูกส่งไปไว้ที่ราชบุรีเพื่อเป็นกันชนหรือทัพหน้า
เมื่อพม่ายกมาตีไทย เมื่อคนลาว ไทย มาอาศัยอยู่รวมกัน จึงมี
การผสมผสานกันด้านภาษา ในปัจจุบันหลายคนพูดภาษาไทย
กลางไปแล้ว แต่ภาษาที่ พูดในตำบลสมอแขน่าจะได้รับการ
อนุรักษ์ไว้ให้อยู่คู่ท้องถิ่นสมอแขสืบไป การออกเสียงพยัญชนะ
ส่วนใหญ่จะขึ้นจมูก เช่น ช ช้าง เป็น จ จ๊าง,ย ยักษ์ เป็น
ยอ ยักษ์ (เสียงขึ้นจมูก) พ ออกเสียงเป็น ป วัฒนธรรมทางภาษาพูดคล้ายภาษาล้านนา เช่น
  ไก่ตัวปู้ = ไก่ตัวผู้ ไก่ตัวแม่ = ไก่ตัวเมีย
  จักจุ้ม = จิ้งเหลน ตกโต = ตุ๊กแก
  ปอม = กิ้งก่า จิ้งกุ่ง = จิ้งหรีด
  จักเข็บ = ตะขาบ ป๋าอีแลบ = ปลาฉลาด ฯลฯ
 
งานสืบสานวัฒนธรรมตำบลสมอแข
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข มีวัตถุประสงค์ที่จะอนุรักษ์ รักษาขนบธรรมเนียม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อให้คงอยู่คู่ตำบลสมอแข โดยได้จัดงานสืบสานวัฒนธรรมตำบลสมอแขขึ้นทุกปี โดยให้แต่ละ หมู่บ้านได้นำสิ่งที่เป็นประเพณี ศิลปวัฒนธรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ตนมีมาจัดแสดง อาทิ การแต่งกายของชาวไทยทรงดำ การภาษาถิ่นของชาวไทยพรวน ภาษาไทยทรงดำ การทำขนมจีน การละเล่นของเด็กไทยสมัยโบราณ ฯลฯ
 
 
 
 
 
 
 
องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข อำเภอเมืองฯ จังหวัดพิษณุโลก 65000 โทรศัพท์ : 055-987-100-3
โทรสาร : 055-987-100-3 ต่อ 220 E-mail : samokhae476pl@gmail.com
สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2551 ตามพระราชบัญญัติสงวนลิขสิทธิ์ 2537 องค์การบริหารส่วนตำบลสมอแข
จำนวนผู้เข้าชม 7,765,636 เริ่มนับ 31 ส.ค. 2555 จัดทำโดย : NAXsolution.com
รับเรื่องร้องเรียน
โทร : 055-987-100-3

แผนผังเว็บไซต์
Version ขั้นต่ำของ Browser นี้รองรับ IE9/firefox3.5/Chrome/safari4/Opera10